เมนู

ของพระราชาเป็นต้น ซึ่งทำการริบเอาเรือนของผู้อื่น ด้วยอำนาจความโกรธ
และใช้พลการเก็บพลี เกินกว่าพลีที่ถึงแก่ตน, อวหารของภิกษุนั้น ผู้ถือเอา
อย่างนั้น พึงทราบว่า เป็นปสัยหาวหาร ส่วนอวหารของภิกษุผู้กำหนดหมาย
ไว้แล้วถือเอา ท่านเรียกว่า ปริกัปปาวหาร. ปริกัปปาวหารนั้น มี 2 อย่าง
เนื่องด้วยกำหนดหมายสิ่งของ และกำหนดหมายโอกาส.

[

อรรถาธิบายภัณฑปริกัป

]
ใน 2 อย่างนั้น ภัณฑปริกัป พึงทราบอย่างนี้:- ภิกษุบางรูปใน
ศาสนานี้ มีความต้องการด้วยผ้าสาฎก จึงเข้าไปยังห้อง หมายใจไว้ว่า ถ้า
จักเป็นผ้าสาฎก, เราจักถือเอา, ถ้าจักเป็นด้าย, เราจักไม่ถือเอา แล้วถือเอา
กระสอบไปในเวลากลางคืน. ถ้าในกระสอบนั้น มีผ้าสาฎก, เป็นปาราชิก
ในขณะที่ยกขึ้นนั่นเอง ถ้ามีด้าย ยังรักษาอยู่. เธอนำออกไปข้างนอก แก้ออก
รู้ว่า เป็นด้าย นำมาวางไว้ยังที่เติมอีก, ยังรักษาอยู่เหมือนกัน, แม้รู้ว่า เป็น
ด้าย แล้วเดินไปด้วยคิดว่า ได้สิ่งใด ก็ต้องถือเอาสิ่งนั้น พึงปรับอาบัติด้วย
ย่างเท้า วางไว้บนภาคพื้นแล้ว ถือเอา, ต้องปาราชิก ในขณะที่ยกขึ้น. เธอ
ถูกพวกเจ้าของเขาร้องเอะอะขึ้นว่า ขโมย ขโมย แล้วทั้งหนีไป ยังรักษาอยู่.
พวกเจ้าของพบแล้วถือเอาไป อย่างนั้นนั่นเป็นการดี ถ้าคนอื่นบางคนถือเอา
เป็นภัณฑไทยแก่เธอ. ภายหลังเมื่อพวกเจ้าของกลับไปแล้ว เธอเห็นของนั้น
เข้าเองจึงถือเอา ด้วยคิดว่า ของนี้ เรานำออกมาก่อน บัดนี้ เป็นของ ๆ
เราละดังนี้ ยังรักษาอยู่ แต่เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อภิกษุกำหนดหมายไว้แล้ว
ถือเอา โดยนัยเป็นต้นว่า ถ้าจักเป็นด้าย เราจักถือเอา ถ้าจักเป็นผ้าสาฎก
เราจักไม่ถือเอา ถ้าจักเป็นเนยใส เราจักถือเอา ถ้าจักเป็นน้ำมัน เราจักไม่
ถือเอา ดังนี้ มีนัยเหมือนกันนั่นแล.

ส่วนในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า แม้ภิกษุมีความ
ต้องการด้วยผ้าสาฎก ถือเอากระสอบผ้าสาฎกนั่นแหละออกไปวางไว้ข้างนอก
แก้ออกแล้ว เห็นว่า นี้ เป็นผ้าสาฎก แล้วไปพึงปรับด้วยการยกเท้าเหมือนกัน.
แต่ในอรรถมหาปัจจรีเป็นต้นนี้ ปริกัปชื่อว่า ย่อมปรากฏ เพราะเธอได้กำหนด
หมาย สิ่งของไว้ว่า ถ้าจักเป็นผ้าสาฎก เราจักถือเอา ปริกัปปาวหาร ชื่อว่า
ไม่ปรากฏ เพราะเห็นแล้วจึงลัก. แต่ในมหาอรรถกถา ท่านปรับอวหารแก่ภิกษุ
ผู้ยกขึ้นซึ่งสิ่งของที่ตนกำหนดหมายไว้ ที่ตนมองไม่เห็น แต่คงตั้งอยู่ในความ
เป็นสิ่งของที่ตนกำหนดหมายไว้แล้วนั่นเอง. เพราะเหตุนั้นปริกัปปาวหาร
จึงชื่อว่าปรากฏในมหาอรรถกถานั้น. อวหารที่กล่าวไว้ในมหาอรรถกถานั้น
สมด้วยพระบาลีว่า ตํ มญฺญมาโน ตํ อวหริ* สำคัญว่า เป็นสิ่งนั้น
ลักสิ่งนั้น ฉะนั้นแล. บรรดาปริกัปทั้ง 2 นั้น ปริกัปนี้ใดที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้น
ว่า ถ้าจักเป็นผ้าสาฎก เราจักถือเอา ดังนี้ ปริกัปนี้ชื่อว่า ภัณฑปริกัป.

[

อรรถาธิบายโอกาสปริกัป

]
ส่วนโอกาสปริกัป พึงทราบอย่างนี้ :- ภิกษุโลเลบางรูปในศาสนานี้
เข้าไปยังบริเวณของผู้อื่น หรือเรือนของตระกูล หรือโรงซึ่งเป็นที่ทำการงาน
ในป่าก็ดี แล้วนั่งในที่นั้น ด้วยการสนทนาปราศรัย ชำเลืองดูบริขารอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความโลภบางอย่าง. ก็แล เมื่อชำเลืองดู พบเห็นแล้ว จึงได้ทำความ
กำหนดหมายไว้ ด้วยอำนาจสถานที่มีประตู หน้ามุข ภายใต้ปราสาท บริเวณ
ซุ้มประตู และโคนไม้เป็นต้น แล้วกำหนดหมายไว้ว่า ถ้าพวกชนจักเห็นเรา
ในระหว่างนี้ เราจักคืนให้แก่ชนเหล่านั้นนั่นแหละ ทำทีเป็นหยิบ เพื่อต้อง
การจะดูเที่ยวไป ถ้าพวกเขาจักไม่เห็นไซร้ เราก็จักลักเอา ดังนี้. พอเมื่อ
//* บาลีเป็น อวหรติฯ